รับฟังเสียงสะท้อน
เพราะเราเชื่อว่า “การศึกษาไทยดีได้กว่าที่คิด”
โครงการ “ห้องเรียนข้ามเส้น” หรือ ED Possible
จึงได้เปิดพื้นที่รับฟังเสียงสะท้อนจากบุคลากรทาง
การศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนนโยบาย
image
image
พร้อมด้วยกิจกรรม “เติมไอเดีย เติมไฟ ให้ครูเจ๋งได้ในห้องเรียน”
ภายใต้ความตั้งใจของ
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
โดยกิจกรรมนี้เราเน้นให้เกิดความหลากหลายในการรับฟังเสียงสะท้อนด้วยตัวแทนของครูจากสถานศึกษาต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการรับฟังปัญหา และสร้างไอเดียใหม่ ๆ หลายมุมมอง และหลายมิติเพื่อนำไปสู่การปลดล็อกปัญหาการศึกษาแง่มุมต่าง ๆ สู่การขับเคลื่อนทางนโยบายทางการศึกษา ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของการการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ดีขึ้นได้
ข้อเสนอเรื่องหลักสูตร
โดยกิจกรรมนี้เราเน้นให้เกิดความหลากหลายในการรับฟังเสียงสะท้อนด้วยตัวแทนของครูจากสถานศึกษาต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการรับฟังปัญหา และสร้างไอเดียใหม่ ๆ หลายมุมมอง และหลายมิติเพื่อนำไปสู่การปลดล็อกปัญหาการศึกษาแง่มุมต่าง ๆ สู่การขับเคลื่อนทางนโยบายทางการศึกษา ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของการการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทยให้ดีขึ้นได้
  • หลักสูตรสอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา เพื่อให้เรียนในสิ่งที่เหมาะสมและนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต
  • หลักสูตรควรได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการจากต้นสังกัด หรือกระทรวงศึกษาธิการมีช่องทางในการส่งหลักสูตรสถานศึกษาและประกาศใช้อย่างเป็นสาธารณะ
  • หลักสูตรต้องถูกลงรายละเอียดในแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกับเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การอ่านที่จะต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างไร
  • หลักสูตรจะต้องมีระบบติดตามผลลัพธ์การนำไปใช้
  • หลักสูตรต้องเกิดการส่งต่อการใช้ในแต่ละระดับ เกิดการใช้จริงอย่างต่อเนื่อง
  • หลักสูตรสามารถตอบโจทย์การประเมินผลรายคนได้ ให้สามารถผ่านระดับชั้นได้
  • หลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับยุคสมัย และต้องนำไปใช้ได้จริง
  • หลักสูตรที่รองรับกับเด็กพิเศษ เพื่อให้เขาสามารถจบการศึกษาภาคบังคับได้
image
image
ข้อเสนอเรื่องอัตรากำลังครู
  • ปรับแนวคิดเรื่องการจัดสรรจำนวนอัตรากำลังครูให้เหมาะสมกับโรงเรียนให้มีความยืดหยุ่น
  • มีเจ้าหน้าที่การเงิน พัสดุ บัญชี โดยเฉพาะ
ข้อเสนอหลักสูตรสำหรับเด็กเรียนร่วม จากการศึกษาพิเศษ
  • เน้นหลักสูตรการอาชีพที่เน้นการสร้างรายได้
  • กำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสมกับเด็กรายบุคคล
  • มีการคัดกรองเด็กจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอเรื่องเทียบโอน
  • เด็กจะต้องสามารถเทียบโอนวิชา จากการไปมีประสบการณ์นอกห้องเรียน เช่น การซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ การไปช่วยเกี่ยวข้าว เป็นต้น ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
  • มีการวัดผลเด็กจากผลลัพธ์ โดยที่อาจจะไม่ต้องใช้เวลาในห้องเรียน
ข้อเสนอเรื่องระบบดูแลช่วยเหลือ
  • มีการสร้างระบบดูแลช่วยเหลืออย่างเข้มแข็งในโรงเรียน ให้เกิดเป็นนิเวศการดูแลเด็กครบวงจร
  • ครูแนะแนวควรมีในระดับชั้นป.4-6 เพื่อที่จะส่งต่อเด็กต่อเนื่อง
ข้อเสนอต่อระบบผลิตครู
  • ผลิตครูให้ตรงกับความต้องการของแต่ละโรงเรียน
image
image
ข้อเสนอต่อการพัฒนาสื่อเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อบุคคลากรทางการศึกษา
ประเภทเนื้อหา
  • เนื้อหาส่งเสริมเรื่องเทรนด์การศึกษา/การเรียนรู้พื้นฐานที่มีประโยชน์ต่อชีวิต
  • เนื้อหาส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น แนวอาชีพ
  • เนื้อหาต้องตอบโจทย์คนทุกวัย เด็กเรียนรู้ได้ ผู้ใหญ่ก็เรียนรู้ได้
  • เนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบการสอนที่ช่วยคุณครูให้ออกแบบเนื้อหาที่ตอบโจทย์ชีวิต
  • เนื้อหาแนวเติมพลังให้คุณครู เติมพลังใจ สร้างแพชชั่นในการทำงาน
  • เนื้อหาที่เชื่อมโยงกับชีวิตคน ชาวบ้านทั่วไป เช่น สอนการทำอาหาร สอนการซ่อมต่างๆ
  • เนื้อหาแนวสัมภาษณ์เด็กๆ ติดตามชีวิตเด็กๆ ที่ผ่านการเรียนรู้จากโรงเรียนที่พัฒนาแล้ว
  • เนื้อหาแนวฉายแสง เสริมพลังโรงเรียนเล็กๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  • เนื้อหาตามรอยวรรณคดี/เรื่องเก่าๆ เพื่อเพิ่มเติมสีสันให้เรื่องราว เป็นการตามหาเรื่องราวจริงๆ
  • เนื้อหาทักษะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันจากข่าว เช่น การเสียชีวิตบนรถบัส เด็กควรจะต้องเอาตัวรอดอย่างไร
  • เนื้อหานำเสนอแนวคิดของเด็กในการจัดการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  • เนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ ติดตามชีวิตเด็กนอกระบบ โดยมีการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการเข้ามาสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก (ข้อควรระวัง : ไม่ชักจูงมากจนเกินไป)
  • เนื้อหาติดตาม “นักเรียนเจ๋ง” เช่น เด็กคนนี้เก่งตกปลา เก่งกีฬา เพื่อให้เห็นว่าการเรียนรู้อยู่รอบตัว
  • เนื้อหาเพื่อ “ครูฝึกสอน” การเตรียมตัว การฝึกทักษะต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครูฝึกสอน
  • เนื้อหาแนว “คุณแม่รุ่นใหม่” ที่สอนลูกให้เป็น ไม่ใช่ต้องฝากลูกไว้กลับโรงเรียน ลูกก็ได้เรียนและได้เล่นไปด้วย
ประเภทกิจกรรม
  • มีกิจกรรมการจัดการแข่งขัน หรือ มอบรางวัลให้แก่ครู จากการดู ALTV
  • Event รวมตัวครูมาเจอกัน (ทั้งครูที่ออกรายกาย และไม่ได้ออกรายการ) เพื่อเสริมพลังในการกลับไปทำในห้องเรียน เช่น มาแชร์ไอเดียกัน สาธิตการสอนในวิชาต่างๆ
image
image